Cardillo

สถาปัตยกรรม

ruam-rueang-san-khong-satapanik / bot-khwam-khong-satapanik / bot-sam-phat / phuengthi-arom /

พื้นที่อารมณ์

กรุงเทพฯ,


Jakkrit Angsutti สัมภาษณ์ Antonino Cardillo สําหรับนิตยสาร B1




B1 Magazine 15



บทสัมภาษณ์

, กับ Jakkrit Angsutti


คงคุณหูคุณตาชื่อของสถาปนิกหนุ่มจากแดนมักกะโรนี นาม Antonino Cardillo ในฉบับก่อนหน้านี้ บางแห่งรวมถึงบ้าน House of Convexities และ Ellipse 1501 House ฉบับนี้ B-1 ได้ถูกจับพูดคุยกับเขาแบบตัวเป็นๆ พร้อมกับหยิบเรื่องราวใหม่ๆ ของเขามาเล่ากล่าวอีกครั้ง… Cardillo เริ่มฝึกปรือวิทยายุทธ์กับศาสตราจารย์ Iolanda Lima ที่ University of Palermo นาน 5 ปี ควบคู่กับเขียนบทความด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมซึ่งพิมพ์ทางวิชาการที่อาจารย์ของเขาเป็นผู้ดูแล ตั้งแต่ปี 2004 Cardillo ปักหลักอยู่ในโรมผ่านงานมาแล้วทั้งออกแบบสถาปัตยกรรม ออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบชุมชนเมือง และภูมิสถาปัตยกรรม ขณะเดียวกัน Cardillo ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำทางวิชาการทั้งสองฝั่งแอตแลนติก ออกแบบชุมชนเมือง และภูมิสถาปัตยกรรม ขณะเดียวกัน Cardillo ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำทางวิชาการทั้งสองฝั่งแอตแลนติก


JA: งานออกแบบสถาปัตยกรรมของคุณเป็นชนิดใดหรือสาขาไหน?

AC: ช่วงเรียนที่มหาวิทยาลัย ผมตกหลุมรักสถาปัตยกรรมของ Frank Lloyd Wright เรียกว่าคลั่งงานของเขามากๆ เลยละ ตอนนี้ผมแทบจะลืมแนวทางนั้นไปแล้ว แต่ผมยังคงหลงใหลงานออกแบบที่กะทัดรัด เพราะผมมองว่างานที่ดีไม่จำเป็นเป็นเครื่องชี้วัดฝีมือของสถาปนิก ยกตัวอย่างเช่นผมเชื่อว่างานที่เจ๋งๆ ของ Frank Gehry คืองานที่เขาออกแบบแบบบ้านใน Los Angeles ในช่วงปี 80s และ Schnabel House เป็นงานที่ผมชอบมาก เพราะงานสเกลเล็กจะมีความเป็นส่วนตัวสูง จะมีความเป็นไปได้ที่จะหลุดพ้นจากข้อจำกัดทางการเงินซึ่งส่วนใหญ่มักจะผลักให้ดีไซน์หลักไปตามเส้นทางของมาร์เก็ตติ้ง


JA: แนวทางการดีไซน์ในอนาคตของคุณเป็นอย่างไร

AC: ผมดีไซน์บ้านสำหรับลูกค้าที่รักจะใช้ชีวิตอยู่ในสเปซที่นิ่ง (contemplative spaces) ซึ่งเป็นการแสดงมุมมองของผมที่มีต่อประวัติศาสตร์และโลกแห่งอารมณ์ที่มักจะรับว่าบ้านของผมไม่ได้ทำมาเพื่อความสวยงามที่ได้มากับทุกคน สถาปัตยกรรมของผมต้องการสร้างวิธีคิดใหม่ของการอยู่อาศัย บางทีแนวทางการอยู่อาศัยสมัยใหม่ของผมอาจต้องการความงาม ความประหยัด และความเป็นมิตรด้วยกัน เพราะฉะนั้นบ้านที่ผมดีไซน์จะเป็นการพยายามบิดเบนมารดร


JA: ช่วยอธิบายกระบวนการออกแบบของคุณตั้งแต่แนวคิดไปจนถึงการนำเสนอ

AC: ผมเชื่อว่าสถาปัตยกรรมของผมเกิดขึ้นจากการทดลองร่วมกันระหว่างความคิดที่อยู่ในใจของผมและความเป็นจริงทางกายภาพของสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ผมเห็นว่าสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นจากการทดลองนี้มีคุณค่าเพราะมันบ่งบอกถึงตัวตนของผู้สร้าง เพราะฉะนั้นจึงไม่เพียงเกี่ยวกับการใช้งานประโยชน์หรือความสวยงาม แต่ยังต้องสะท้อนถึงความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ ของผู้สร้างอีกด้วย การออกแบบของผมจึงไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่แต่เพียงแค่หนึ่งอาชีพ หรือสาขาเดียวเท่านั้น


JA: ผลงานชิ้นไหนที่คุณชอบมากที่สุด? เพราะอะไร?

AC: ชิ้นล่าสุด ตอนนี้ผมกำลังทำ House in Melbourne ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากคีตนิพนธ์ของ John Foxx เกี่ยวกับความก้องกังวานของเสียง (reverberating soundscapes) ผมพยายามที่จะสร้างอาคูสติกสเปซที่มีแสงแดดสะท้อนอยู่ภายในห้องดนตรี จนทำให้อายุการใช้งานของบ้านพักอาศัยอื่นๆ ของผมต้องการที่นิยามความเป็นปัจจุบันใหม่ เมื่อได้เปรียบเทียบกับบรรดาความหมายหรือการออกแบบอื่นๆ ของผมทางที่เกี่ยวข้องกับความคิดถึงอดีต หรือลึกๆ ลงไปในการสำรวจทางประวัติศาสตร์ จะทำอย่างนั้นได้ผมต้องเชื่อมโยงหลายคอนเซ็ปต์เข้าด้วยกัน ซึ่งผมทำอย่างละเอียดเพื่อเอาไปใช้ในงานออกแบบบ้านพักอาศัยอื่นๆ ของผมด้วย


JA: สิ่งใดหรือใครที่มีอิทธิพลกับงานของคุณเป็นอย่างมาก

AC: ประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ผมรักประวัติศาสตร์และยังเชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่สถาปนิกต้องใส่ใจ เราต้องรู้จักประวัติศาสตร์ให้ลึกซึ้ง ถ้าปราศจากความทรงจำก็เป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างปัจจุบันหรืออนาคตที่น่าเชื่อถือได้ ความเสี่ยงสำคัญที่เราเผชิญอยู่ตอนนี้คือการซ้ำรอบอดีตที่เพิ่งผ่านไปในวงจรที่น่าเบื่อ ผมว่าการที่เราไม่สามารถก้าวไปสู่ไดเร็คชั่นใหม่ๆ ได้เพราะเราไม่ใส่ใจประวัติศาสตร์มากพอ


JA: อารมณ์หรือความรู้สึกไหนที่ช่วยขับเคลื่อนพลังความคิดสร้างสรรค์ของคุณ

AC: 'ความรัก' อาจฟังดูตลกหรือแปลกๆ หน่อย แต่มันคือช่วงชีวิตสำคัญที่ผ่านการเรียนรู้ ผมเชื่อว่า ความรักขับเคลื่อนโลกใบนี้ไปข้างหน้า นี่คือความจริงโดยเฉพาะงานสถาปัตยกรรม ตำแหน่งที่ตั้งต่างๆ ไม่เพียงแค่มาพบกัน ต้องรักกันด้วยถึงจะทำให้กำเนิดภาษาใหม่ ตรงจุดนี้ผมบอกได้เลยว่าสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบจากอดีต มักจะสร้างอารมณ์ร่วมระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นสถาปนิกที่ดีต้องเป็นนักรักที่ยิ่งใหญ่ด้วย


JA: คนในทีมหรือเป็นไอเดียของคุณคนเดียว?

AC: ขั้นตอนแรกผมต้องทำคนเดียวก่อน เพราะมันจำเป็นต้องใช้สมาธิในการสร้างงานดีไซน์ แล้วค่อยนำสิ่งที่ผมคิดไปทำงานร่วมกับที่ปรึกษาหลายๆ คนของผม


JA: คำว่า 'เทรนด์' มีความสำคัญกับงานของคุณมากแค่ไหน?

AC: เทรนด์มีความสำคัญกับผมน้อยมาก ผมสนใจในไอเดียที่จะอยู่ได้นานมากกว่าเทรนด์ที่มาแล้วก็ไป


JA: ในความคิดของคุณ สถานที่ใดที่บ่งบอกถึงความเป็นสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน และอะไรคือสถาปัตยกรรมที่ดีที่สุดในอนาคต?

AC: ผมเชื่อว่าสถาปัตยกรรมร่วมสมัยมีแนวโน้มจะกลายเป็นกระแสหลัก ถ้าคุณลองเปรียบเทียบดนตรีกับงานสถาปัตยกรรมดู คุณจะพบกับช่องว่างบางอย่าง ดนตรีร่วมสมัยสามารถผสมผสานวัฒนธรรมหลายอย่างเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นการสื่อสารแบบเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรมได้ น่าเสียดายที่ปรากฏการณ์แบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับงานสถาปัตยกรรม บางทีอาจเป็นเพราะสถาปัตยกรรมมาพร้อมกับกระบวนการทางเศรษฐกิจอันแข็งแกร่ง รวมถึงเม็ดเงินนั่นเองที่กำจัดความมุ่งมั่นในทางศิลป์ ซึ่งโปรเจ็คต์เหล่านี้นี่แหละที่กำลังเกิดซ้ำซากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ


JA: องค์ประกอบอะไรในการทำงานดีไซน์ที่คุณไม่ชอบเป็นพิเศษ?

AC: การทำงานในอิตาลี เพราะผู้คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจในศิลปะแบบร่วมสมัย ผมชอบทำงานกับลูกค้าในประเทศอื่นๆ มากกว่า


JA: คุณอยากออกแบบอะไรเป็นพิเศษไหม?

AC: ผมอยากสร้างสถาปัตยกรรมร่วมสมัยให้อยู่ในกรุงโรม แต่มันน่าจะแตกต่างจากงาน Ara Pacis ของ Richard Meier เพราะผมคิดว่ากรุงโรมน่าจะมีงานดีไซน์ที่ลึกซึ้งมากกว่าชิ้นงานล้าสมัยสไตล์ Neoplastic


JA: อะไรที่สร้างแรงบันดาลใจในชีวิตของคุณมากที่สุดที่ทำให้คุณทำงานดีไซน์ต่างๆ ออกมา

AC: 'แสงแดด' ยามที่ผมทำงานออกแบบผมมักคิดว่าตนเองกำลังพลอดรักกับแสงอาทิตย์ ดังนั้นผมจึงไม่สามารถอยู่ทางเหนือของเส้นขนานที่ 41ได้


JA: ถ้าคุณสามารถเลือกหนังสือได้แค่หนึ่งเล่ม ภาพยนตร์หนึ่งเรื่อง และเพลงหนึ่งเพลง คำตอบของคุณคือ…

AC: หนังสือเรื่อง 'El ingenioso hidalgo don Quijote de la Mancha' ของ Miguel de Cervantes Saavedra ภาพยนตร์เรื่อง 'Solyaris' กำกับโดย Andrei Tarkovsky และเพลง 'Michelangelo Antonioni' ของ Caetano Veloso


JA: ถ้าไม่เป็นนักออกแบบคุณจะไปทำอาชีพอะไร?

AC: นักดนตรี ผมว่าดนตรีเป็นพี่น้องฝาแฝดคู่กับสถาปัตยกรรมเลย ผมรักเสียงเพลงและมันสร้างแรงบันดาลใจให้ผม และแน่นอนว่าผมชอบมันมากกว่างานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย


JA: สุดท้ายนี้ช่วยนิยามความหมายของคำว่า 'Be The Best' ในแบบฉบับของคุณหน่อยสิ:

AC: "กล้าที่จะค้นหาตนเองผ่านมุมมองของผู้อื่น"

หน้า 94 ของ นิตยสาร B1 ฉบับที่ 15

หน้า 94 ของ นิตยสาร B1 ฉบับที่ 15





แหล่งที่มา

  • Antonino Cardillo, ‘Emotional space(pdf), B1 Magazine, ฉบับที่ 15, บรรณาธิการ Jakkrit Angsutti, กรุงเทพฯ, มกราคม 2552, หน้า 94‑99.